วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเขียนเรื่องสั้น


การเขียนเรื่องสั้น


ความหมายของเรื่องสั้น
เรื่องสั้นคือเรื่องที่เล่าอย่างสั้น ๆ มีขนาดความยาวของเรื่องไม่กำหนดแน่นอนตายตัวแต่ต้องใช้คำไม่มากนักโครงเรื่อง ไม่ซับซ้อนจนเกินไป สามารถอ่านจบได้ในเวลาสั้น ๆ ผลที่ปรากฏจากเรื่องหรือแนวคิดที่ได้จากเรื่องจะเป็นเพียงผลอย่างเดียวหรือแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว

ลักษณะของเรื่องสั้น
เรื่องสั้นของไทยตามแบบเก่า มีลักษณะพอสรุปได้ดังนี้
๑.มีโครงเรื่อง หมายถึง มีการเปิดเรื่อง โดยมีข้อขัดแย้งกันในระหว่างตัวละครเพื่อทำให้เรื่องสนุกสนานน่าติดตาม ต่อมาก็มีการคลี่คลายข้อขัดแย้ง จนบรรลุอย่างใดอย่างหนึ่งจึงปิดเรื่อง
๒.มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียว และมีผลอย่างเดียว หมายถึง ในโครงเรื่อง ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายแล้วผลในตอนจบไว้อย่างเดียว
๓.ใช้เวลาน้อย หมายถึง เวลาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโครงเรื่องจะต้องใช้เวลาสั้น ๆ จบลงอย่างรวบรัด
๔.ใช้ตัวละครน้อย หมายถึง ตัวละครในเรื่อง ควรมีจำนวนน้อย เพื่อให้ดำเนินเรื่องไปอย่างรวดและรวบรัดไปสู่จุดหมายโดยเร็ว
๕.มีขนาดสั้น หมายถึง การใช้คำในการเขียนเรื่อง ซึ่งปรกตินิยมตามขนาดมาตรฐานของเรื่องสั้นรุ่นเก่า คือมีจำนวนคำประมาณ ๔,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ คำ แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นสมัยใหม่จัดเป็นเรื่องสั้นขนาดยาวอาจมีจำนวนคำได้ถึง ๑๐,๐๐๐ คำ
๖.ต้องมีความแน่น หมายถึง ต้องใช้สำนวนโวหารการสร้างฉาก ตัวละคร บทสนทา ฯ ล ฯให้กระชับรัดกุม และมีประโยชน์ต่อการดำเนินเรื่องมากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น