วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเขียนรายงาน

การเขียนรายงานเป็นการบันทึกความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วรวบรวมความรู้ที่ได้นั้น มาเขียนเรียบเรียงใหม่อย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่อเสนอเป็นส่วนประกอบของการศึกษาวิชาต่างๆ การทำรายงานจึงเป็นการศึกษาด้วยตนเองอันจะทำให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาได้ดียิ่งขึ้น

ส่วนประกอบของรายงาย
๑.ส่วนนำเรื่อง ประกอบด้วย
ปกนอกมีวิธีการเขียนดังนี้
-ส่วนบน เขียนชื่อรายงาน
-ส่วนกลาง เขียนชื่อ นามสุก ผู้ทำรายงาน โดยไม่ต้องเขียนคำนำหน้า
ชื่อนาย หรือนางสาวอาจเขียนชั้นที่ศึกษาและเลขที่ของผู้ทำรายงานไว้บรรทัดถัดไปด้วยก็ได้และถ้าเป็นรายงานกลุ่ม ให้เขียนชื่อเรียงไว้คลละบรรทัด
-ส่วนล่าง บางออกเป็น 3 บรรทัด บรรทัดแรกเขียนชื่อรหัสวิชา และ
รายวิชาที่เขียนรายงาน โดยใช้คำว่า “รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา...”บรรทัดที่ ๒ เขียนชื่อโรงเรียน บรรทัดที่ ๓ เขียนภาคเรียน และปีการศึกษา ที่เขียนรายงาน
การเขียนหน้าปก ควรกะระยะตัวอักษรที่จะเขียนให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ
โดยเว้นที่ว่างทางด้านซ้ายและขวาไว้ให้เท่ากันและวันว่างส่วนบนกลางและล่างให้เท่าๆกันด้วย
- ใบรองปก เป็นกระดาษเปล่าหนึ่งแผ่น ต่อจากปกนอก
- ปกใน เขียนข้อความเช่นเดียวกับปกนอก
- คำนำ ควรแบ่งออกเป็น ๓ ย่อหน้า และควรกล่าวถึงรายละเอียดดังนี้
ย่อหน้าที่ ๑ กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการเขียนรายงาน เป็นการเกริ่นนำถึงสาเหตุ
หรือแรงบันดาลใจที่ศึกษาค้นคว้าในการทำรายงานเรื่องนี้

ย่อหน้าที่ ๒ กล่าวถึงขอบเขตของเนื้อหาในรายงานอย่างย่อๆ ว่ากล่าวถึงอะไรบ้าง
ย่อหน้าที่ ๓ กล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือ ให้ความช่วยเหลือ หรือให้ความ
สนับสนุนอันมีส่วนทำให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์
( คำว่า “คำนำ” ให้เขียนกลางหน้ากระดาษไม่ต้องขีดเส้นใต้ )
สารบัญ หมายถึง บัญชีหัวข้อสำคัญและหัวข้อย่อยในรายงานทั้งหมด โดยเขียนเรียงลำดับตามที่ปรากฏในรายงานตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายพร้อมทั้งบอกเลขหน้าด้วยว่า หัวข้อนั้นๆ อยู่หน้าใดเพื่อสะดวกในการค้นคว้า
( คำว่า “สารบัญ” ให้เขียนไว้กลางหน้ากระดาษไม่ต้องขีดสันใต้ ส่วนหัวข้อ
สำคัญและหัวข้อย่อยให้เขียนไว้ทางด้านซ้ายมือ ส่วนตัวเลขบอกหน้าให้เขียนไว้ทางขวามือ ) ถ้าเป็นรายงานสั้นๆ อาจจะไม่ต้องมีสารบัญก็ได้
๒ )ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย
๒.๑. บทนำ เป็นส่วนหนึ่งที่บอกเหตุผลและวัตถุประสงค์ในการทำรายงาน
เรื่องนั้น ชี้แจงขอบเขตของเรื่องบอกให้ทราบว่าการทำรายงานนั้นมีความมุ่งหมายอย่างไร งานค้นคว้ากว้างหรือแคบเพียงใด ใช้วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างไร มีการจัดระเบียบข้อมูลอย่างไรสมมติฐานของการศึกษาค้นคว้าอย่างไร
๒.๒. เนื้อหา คือ ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการเลือกสรรจากการศึกษาค้นคว้า
ทั้งหมดและได้จัดระเบียบข้อมูลนั้นอย่างดี ถ้ามีเนื้อเรื่องยาวมากควรแบ่งเป็นบท ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ ก็แบ่งเป็นหัวข้อเรื่อง ตัวเรื่องจะประกอบด้วยหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อยแต่ละหัวข้อจะมีสารัตถะขยายความ ได้แก่ เรื่องราว ข้อเท็จจริง ข้อมูล ภาพ แผนภูมิ ฯลฯ ในการเขียนเรียบเรียงจากการค้นคว้าจากแหล่งอื่น เช่น หนังสือวารสารสัมภาษณ์ ฯลฯ ผู้เขียนควรระบุข้อความตอนใด อ้างมาจากแหล่งใด โดยให้รายละเอียดย่อๆ ของแหล่งที่ใช้แทรกไว้ในเนื้อความ ( การอ้างอิงที่นิยมใช้ระบบ นาม – ปี : คือ ใส่ชื่อผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้าที่อ้าง ) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่อ่านที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมและเพื่อแสดงมารยาทในการเขียนรายงานวิชาการของผู้เขียน


ตัวอย่างการอ้างอิงระบบนาม- ปี
แบบที่ ๑ อ้างข้อความก่อนแล้วจึงอ้างที่มา มีวิธีการดังนี้
“ ..........มอร์ฟีนเป็นอนุพันธ์ของฝิ่น มีสารอัลคาลอยด์ ซึ่งมีความรุนแรงในการกด
ประสาท ๑๐ เท่าของฝิ่นแท้มอร์ฟีนสกัดได้จากฝิ่นในรูปของเกลือต่างๆ ....” ( วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, ๒๕๒๕ : ๗ )
แบบที่ ๒ อ้างที่มาก่อนแล้วจึงอ้างข้อความ มีวิธีการดังนี้
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ( ๒๕๒๕ : ๗ )ได้กล่าวถึงเรื่อง มอร์ฟีนไว้ว่า “ ..........
มอร์ฟีนเป็นอนุพันธ์ของฝิ่น มีสารอัลคาลอยด์ ซึ่งมีความรุนแรงในการกดประสาท 10 เท่าของฝิ่นแท้มอร์ฟีนสกัดได้จากฝิ่นในรูปของเกลือต่างๆ ....”
๒.๓. บทสรุป มิใช่การย่อความโดยนำเนื้อหาสาระมากล่าวซ้ำ แต่เป็นการ
วิเคราะห์ข้อมูลและสาระสำคัญเพื่อประมวลแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นบทสรุปภาษาที่ใช้ในการนำเสนอเรื่องมักเป็นภาษาทางการ ใช้วิธีเขียนด้วยการลำดับความ ใช้คำง่าย มีการใช้เหตุผลในการนำเสนอ นิยมใช้ถ้อยคำสำนวนของผู้เขียนเอง

๓. ส่วนท้าย ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้
๓.๑. บรรณานุกรม เป็นบัญชีประมวลรายชื่อหนังสือ วารสาร และเอกสาร
ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ถ้ามีเอกสารได้ถึง ๕ เล่ม ให้ใช้คำว่า “เอกสารอ้างอิง” การเขียนบรรณานุกรมต้องเขียนตามรูปแบบที่กำหนด
๓.๒. ภาคผนวก เป็นเรื่องที่นำมาเพิ่มเติมช่องว่างให้สมบูรณ์ แต่มิใช่เนื้อหา
โดยตรงของเรื่อง จัดแยกไว้ท้ายเล่ม ถ้ามีหลายเรื่องก็จัดเป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข
ขั้นตอนการในการเขียนรายงาน
การเขียนรายงานนั้น นอกจากจะต้องวางรูปแบบให้ถูกต้องแล้ว ขั้นตอนการเขียนรายงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องปฎิบัติให้ถูกต้องและเป็นไปตามลำดับ
๑. การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเขียนรายงาน
ถ้าเป็นการเขียนรายงานโดยทั่วไป ผู้สอนมักจะเป็นผู้กำหนดหัวข้อเรื่องให้ แต้ถ้ามีโอกาสเลือกเรื่องที่จะทำรายงานเอง ควรยึดแนวทางการเลือกหัวข้อดังนี้
- เลือกหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ และให้ประโยชน์มากพอสมควร
- เลือกหัวข้อเรื่องที่สามารถหาหนังสือค้นคว้าอ้างอิงได้ง่ายและมีมากพอ
- เลือกหัวข้อที่ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป เพระถ้ากว้างเกินไปจะเขียนรายงานได้ไม่ครอบคลุมเนื้อเรื่องและถ้าแคบเกินไป จะไม่สามารถเขียนรายงานให้มีความยาวพอเหมาะได้
๒. การจัดเตรียมเอกสารอ้างอิง
เมื่อเลือกหัวข้อที่จะเขียนรายงานได้แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การค้นคว้าและ
รวบรวมเอกสารที่จะนำมาใช้เขียนรายงานไว้ให้มากที่สุด ซึ่งอาจจะได้แก่ หนังสือ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์หรืออื่นๆ
๓. การเขียนโครงเรื่อง
การเขียนโครงเรื่องคือ คือ การวางแนวทางไว้อย่างย่อๆ ว่า จะเขียนรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่เลือกไว้ในแนวทางใด และจะมีขอบเขตของเนื้อหากว้างหรือแคบเพียงใด การวางโครงเรื่องไว้ล่วงหน้าจะช่วยให้ไม่เขียนออกนอกเรื่อง ทั้งยังช่วยให้เนื้อหามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปเป็นขั้นตอนโดยสมบูรณ์อีกด้วย โครงเรื่องที่ดีจะต้องประกอบด้วย หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ให้ใช้แผนผังความคิด หรือผังมโนทัศน์มาช่วยในการวางโครงเรื่อง


๔ ) การบันทึกข้อมูลจากเอกสารอ้างอิง

โดยทั่วไปนิยมบันทึกข้อมูลลงใน “บัตรบันทึก” ขนาด ๓  ๕ ๔ ๖ 
หรือ ๕๗แต่ควรเป็นขนาดเดียวกันทั้งหมด มีความหนาพอให้ทรงตัวไดไม่หักงอเมื่อเรียงตั้งเพื่อสะดวกสำหรับการเก็ยรวบรวมและนำไปใช้ โดยซื้อได้จากร้านเครื่องเขียน หรือทำเอง โดยใช้กระดาษสมุดชนิดหนาก็ได้

รูปแบบของการบันทึก ประกอบด้วยรายการหลัก ๔ ประการ คือ
๑. หัวข้อเรื่อง
๒. รายการหนังสือหรือแหล่งข้อมูลที่ค้นคว้าโดยบันทึกตามแบบ
บรรณานุกรม
๓. เลขหน้า เฉพาะข้อความที่จดบันทึก
๔. เนื้อหาสาระของเรื่องที่ค้นคว้า
ลักษณะของการบันทึกในแต่ละแผ่น ใช้บันทึกเนื้อหาเพียงหัวข้อเดียว แม้
เป็นหัวข้อเดียว ถ้าบันทึกจากหนังสือต่างเล่มกัน ก็แยกบัตรบันทึกหัวข้อเรื่องที่ละแผ่น หรือเป็นหนังสือเล่มเดียวกัน แต่บันทึกต่างเล่มกันก็แยกบัตรบันทึกเช่นกัน กรณีที่บัตรบันทึกแผ่นเดียวกันเก็บเนื้อหาไม่หมดบันทึกต่อบัตรที่ ๒ หรือ ๓ ได้โดยเขียนให้ทราบว่ามีบัตรต่อ
วิธีบันทึกเนื้อหา สามารถทำได้หลายแบบแต่ที่นิยมใช้ทั่วไปมี ๒ แบบดังนี้
๔.๑. บันทึกแบบคัดลอกข้อความ วิธีนี้เลือกคัดลอกข้อความตอนที่ต้องการจาก
ต้นฉบับทุกประการเหมาะสำหรับคำจำกัดความ กฎระเบียบข้อบังคับ หลักฐานหรือเหตุผลสำคัญที่สามารถนำไปใช้อ้างอิงสนับสนุนการนำเสนอผลการค้นคว้าได้ ถ้าเป็นข้อความขนาดยาวแต่ไม่ต้องการบันทึกข้อมูลบางส่วนให้ใส่จุด ๓ จุดตรงส่วนที่คัดออกนั้นทั้งนี้ควรใส่เครื่องหมายอัญประกาศกำกับข้อความที่คัดลอกไว้ด้วย เพื่อให้ทราบชัดเจนว่าเป็นเป็นข้อความที่คัดลอกมาโดยตรง

ตัวอย่าง บัตรบันทึกข้อมูลแบบคัดลอกข้อความ
ฝิ่น : ลักษณะ
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. จากฝิ่นสู่เฮโรอีน. กรุงเทพฯ : แพร่วิทยา , ๒๕๓๕ หน้า ๖ .
“ ...ฝิ่นเป็นพืชล้มลุก ชอบขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๓,๐๐๐ ฟุตขึ้นไป ชอบอากาศหนาว ปลูก ได้ปีละครั้ง ดอกฝิ่นมีสีเขียว แดง ม่วง ชมพู ฯลฯ ผลของฝิ่น เมื่อถูกกรีดเป็นยางเหนียวสีขาวไหลออกมา เมื่อแข็งตังจะเปลี่ยนสีน้ำตาลไหม้ และเมื่อนำไปเคี่ยวให้สุกจะมีสีดำ มีรสเข้มจัด มีกลิ่นอับๆ คล้ายแอมโมเนีย...”

๔.๒. บันทึกแบบสรุปความ โดยเก็บสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการให้ครบถ้วนด้วยภาษาของผู้บันทึกเองอย่างสั้นๆ

ตัวอย่าง บัตรบันทึกข้อมูลแบบสรุปความ

ฝิ่น : ลักษณะ
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม . จากฝิ่นสู่เฮโรอีน. กรุงเทพฯ : แพร่วิทยา , ๒๕๓๕ หน้า ๖
“ ...ฝิ่นเป็นพืชล้มลุก ชอบขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลชอบอากาศหนาว ดอกฝิ่นมีหลายสี ผลของฝิ่นจะมียางเหนียวสีขาวเมื่อแข็งตังจะเปลี่ยนสีน้ำตาลไหม้ และเมื่อนำไปเคี่ยวให้สุกจะมีสีดำ กลิ่นอับๆ คล้ายแอมโมเนีย...”

๕. การเรียบเรียงเนื้อเรื่องรายงาน
การเรียบเรียงเนื้อเรื่องรายงานนี้จะต้องพยายามเรียบเรียงอย่างรอบคอบ อย่าให้เกิดความผิดพลาดอันทำให้เนื้อหาวิชาการผิดเพี้ยนไปได้การเรียบเรียงเนื้อเรื่องนี้มีขั้นตอนควรปฏิบัติคือ
๕.๑. รวบรวมบัตรบันทึกทั้งหมด แล้วจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาตามหัวข้อ
ของบัตรบันทึกที่สอดคล้องกับโครงเรื่อง
๕.๒. อ่านบัตรบันทึกที่เขียนและรวบรวมเป็นหมวดหมู่นั้นอย่างละเอียด
ทีละหัวข้อ
๕.๓. เรียบเรียงเนื้อหาของแต่ละหัวข้อจากบัตรบันทึกที่ทันทึกไว้ โดย
อ้างถึงสิ่งที่เหมือนหรือแตกต่างกันเรียบเรียงให้เนื้อเรื่องเดียวกันอย่างสมบูรณ์ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง
๕. ๔. การเรียบเรียงเนื้อหา ต้องแสดงความคิดเห็นของตนเองแทรกลงไป
ด้วย อย่าเพียงแต่รวบรวมจากข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว แต่ความคิดเห็นนี้ต้องเป็นความคิดเห็นที่เป็นหลักการถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่เป็นไปได้


๕.๕. การเรียบเรียงเนื้อเรื่อง ถ้าตอนใดต้องการความชัดเจน น่าเชื่อถือ
ให้อ้างคำพูดหรือข้อเขียนของบุคคลผู้ทรงคุณวุฒินั้น โดยทำเป็นอัญประกาศ ( ข้อความที่คัดลอกมาจากหนังสืออ้างอิง ) แทรกไว้

๕.๖. การเรียบเรียงเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ ต้องขยายที่เพิ่มเหล่านั้นให้มี
ใจความสำคัญที่แจ่มแจ้งชัดเจนโดยเพิ่มส่วนขยายลงในเนื้อความซึ่งต้องยึดหลักว่า ส่วนขยายที่เพิ่มนั้นต้องไม่มีใจความสำคัญมากเกินกว่าดีบันทึก
๕.๗. เมื่อเรียบเรียงเนื้อหาของแต่ละหัวข้อครบหมดทุกข้อตามโครงเรื่อง
แล้ว นำเนื้อหาที่เรียบเรียงนั้นมาเขียนต่อกันเป็นเรื่องยาวโดยเขียนข้อความที่จำเป็นเพิ่มเติมเพื่อแต่ละหัวข้อให้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด
อนึ่งในการเขียนรายงานนั้นจะต้องเขียนลงในกระดาษดังนี้

ตัวอย่าง : การเว้นขอบกระดาษในการเขียนรายงาน

๑ นิ้ว







๑.๕ นิ้ว ๑ นิ้ว



๑ นิ้ว

๖. การเขียนบรรณานุกรม
หลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรม มีดังนี้
๖.๑. เขียนคำว่า บรรณานุกรม กลางหน้ากระดาษตอนบน โดยไม่ต้อง
ขีดเส้นใต้
๖.๒. ถ้ารายงานที่เขียนมีเอกสารที่ใช้อ้างอิงไม่ถึง ๕ เล่ม ให้ใช้คำว่า
“ หนังสืออุเทศ” หรือ “หนังสือ อ้างอิง”แต่ถ้ามีเอกสารอ้างอิงตั้งแต่ ๕ เล่มขึ้นไป จึงใช้คำว่า “บรรณานุกรม”
๖.๓. เอกสารอ้างอิงที่นำมาเขียนบรรณานุกรมให้เขียนเรียงลำดับตาม
พยัญชนะต้นตัวแรกของชื่อผู้แต่งโดยไม่ต้องมีเลขหน้าข้อเป็น ๑, ๒ และ ๓
๖.๔. การเขียนชื่อผู้แต่งของเอกสารอ้างอิงในบรรณานุกรมมีวิธีเขียนดังนี้
ถ้าผู้แต่ง ๒ คนให้ใช้คำว่า “และ” เชื่อมระหว่างชื่อ เช่น
บุญเลิศ เนียมเจริญ และวิวัฒน์ นาสา.
ถ้าผู้แต่ง ๓ คน ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค ( ,) คั่นระหว่างชื่อที่ ๑ และ ๒
ใช้ “ และ “ เชื่อชื่อที่ ๓ เช่น
ประกอบ ใช้ประการ , ประยุทธ สิทธินันธ์ และสมบูรณ์ คนฉลาด.
ถ้าผู้แต่งมากกว่า ๓ คน ให้ใช้คำว่า “และคนอื่น “ หรือ “และคณะ “
ต่อท้ายชื่อแรก เช่น ตามด้วยยศ หรือบรรดาศักดิ์ของผู้แต่ง เช่น
คึกฤทธิ์ ปราโมช , ม.ร.ว.
อุปกิตศิลปาสาร , พระยา
ถ้าผู้แต่งใช้ชื่อหน่วยงานเป็นผู้แต่ง ให้เขียนชื่อหน่วยงานก่อน และถ้ามีหน่วยงานย่อยด้วยให้อาหน่วยงานใหญ่ขึ้นก่อน เช่น
ศิลปากร , มหาวิทยาลัย .
ศึกษาธิการ , กระทรวง. กรมวิชาการ.
ยกเว้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ต้องใช้หลักการนี้
๖.๕. ถ้าเอกสารอ้างอิงมีผู้แต่งหลายคน ให้เรียงลำดับเอกสารโดยใช้
อักษรต้นชื่อของผู้แต่งคนแรกเป็นหลัก
๖.๖. ถ้าชื่อผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงลำดับตามอักษรต้นนามสกุลของผู้แต่ง แต่ถ้าผู้แต่งเป็นคนเดียวกันทำให้เรียงลำดับตามชื่อเอกสาร
๖.๗. การเขียนบรรณานุกรม ให้เริ่มเขี่ยนรายการแรกชิดขอบกระดาษ
ด้านซ้ายและถ้าเขียนบรรทัดเดียวไม่จบ ให้ขึ้นบรรทัดที่ ๒ โดยย่อหน้าเข้าไปประมาณ ๗ – ๘ อักษร
การเขียนบรรณานุกรมจากเอกสารอ้างอิงประเภทต่างๆ
เอกสารอ้างอิงต่างชนิดกันจะมีวิธีเขียนบรรณานุกรมที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะประเภทที่นักศึกษาระดับนี้ใช้กันมาก ดังนี้
๑ ) หนังสือ
ชื่อผู้แต่ง นามสกุล . ชื่อหนังสือ .ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ , ปีที่พิมพ์ .
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน .การเขียนภาคปฎิบัติ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช , 2518.
๒ ) บทความจากหนังสือ
ชื่อผู้เขียนบทความ. “ ชื่อบทความ ,” ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์หรือโรงพิมพ์ , ปีที่พิมพ์. หน้าทั้งหมดของบทความ.
ดำรงราชานุภาพ , สมเด็จ ฯ กรมพระยา. “ เรื่องสร้างพระบรมรูปทรงม้า ,” ประชุมพระนิพนธ์เบ็ดเตล็ด. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา , ๒๕๐๔. หน้า ๕๙ –๖๐.
๓ ) บทความในวารสารหรือนิตยาสาร
ชื่อผู้แต่ง นามสกุล . “ ชื่อบทความ,” ชื่อวารสารหรือนิตยาสาร, ปีที่ ( เดือน , ปี ) เลขหน้าทั้งหมด ของบทความ.
วาณิช จรุงกิจอนันต์. เมฆเมฆินทร์ , “ สตรีสาร, ๒๕ ( กรกฏาคม , ๒๕๔๒) ,หน้า ๖๙ -๗๒
บทความในหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้แต่ง นามสกุล . “ ชื่อบทความ,” ชื่อหนังสือพิมพ์, วัน เดือน ปี , หน้า.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. “ ชื่อนั้นสำคัญฉะนี้,” ไทยรัฐ, ๘ มิถุนายน ๒๕๔๒ ,หน้า ๖.

๗. การข้ารูปเล่ม
การเข้ารูปเล่มเป็นนั้นตอนสุดท้ายของการทำรายงาน จะต้องเรียงลำดับ
ส่วนประกอบต่างๆอย่างมีขั้นตอนโดยเริ่มจาก ปกหน้า – ใบรองปก – ปกใน –คำนำ – สารบัญ –เนื้อเรื่อง –บรรณานุกรม – ใบรองปก – ปกหลัง
เมื่อเรียงลำดับได้ตามขั้นตอนนี้แล้ว ให้เย็บเล่มโดยเย็บทางริมซ้ายของรายงาน ให้ถาวร หลังจากนั้นตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งก่อนนำส่ง
การเขียนรายงานเชิงวิชากรด้วยตนเองตามวิธีการดังกล่าวแล้วนี้ จะช่วยให้ได้รับความรู้และสารประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งยังเป็นการฝึกทักษะการเขียนให้เกิดความชำนาญอันจะนำไปสู่จุดเริ่มต้นของการเขียนที่ดีต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น