วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

กลอนแปด



กลอนแปด

กลอนแปดเป็นกลอนสุภาพที่มีผู้นิยมแต่งกันมากที่สุด เนื่องจากมีจำนวนไม่มากไม่น้อยเกินไปสามารถเก็บความได้พอดี ถือเป็นกลอนพื้นฐานของกลอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอนนิราศ กลอนนิทาน กลอนเพลงยาว หรือกลอนขับร้องต่างๆ

๑. ลักษณะบังคับ


ตัวอย่าง บัดเดี๋ยวดีหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหนือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

( พระอภัยมณี : สุนทรภู่ )

ข้อบังคับ :
๑ .คณะ บทหนึ่งมี 2 บาท บาทที่ 1 เรียกว่าบาทเอก มี 2 วรรคคือ วรรคสลับและวรรครับ บาทที่ 2 เรียกว่า บาทโท มี 2 วรรค คือ วรรครองและวรรคส่ง แต่ละวรรคมีคำวรรคละ 8 คำ
๒ .สัมผัส ดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคสลับ สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 4ของวรรครับ
คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง
คำสุดท้ายของสรรครอง สัมผัสกับคำที่ 3 และ 5 ของวรรคส่ง

ถ้าจะแต่งบทต่อไป จะต้องให้คำสุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับของบทต่อไปเสมอ

หมายเหตุ ชนิดของสัมผัสของกลอนที่ควรรู้มี 4 อย่างดังนี้
๑.สัมผัสสระ ได้แก่ คำที่มีเสียงสระตรงหัน ถ้ามีตัวสะกดก็ต้องเป็นตัวสะกด
ในมาตราเดียวกัน เช่น
นะ สัมผัสกับ ยะ มะ ค่ะ
คน สัมผัสกับ จน ก่น ล้น
ถาด สัมผัสกับ สาด บาด ขาด
ชุน สัมผัสกับ มุ่น คุ้น ตุ๋น

จะเห็นได้ว่าคำข้างต้นนี้แต่ละชุดใช้สระตัวเดียวกัน และใช้ตัวสะกดในมาตราเดียวกันแม้จะใช้วรรณยุกต์ต่างๆ กัน ถือว่าสัมผัสกันได้
มีข้อควรระวังว่า อย่าใช้ สระเสียงสั้น สัมผัสกับสระเสียงยาว แม้ว่าจะมีตัวสะกดเดียวกัน ก็ไม่ถือว่าสัมผัสสระกัน เช่น กิน ไม่สัมผัสสระกับ ปีน ศีล จีน เป็นต้น

๑.สัมผัสอักษร ได้แก่ คำที่ใช้พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน อาจเป็นตัวอักษร
ที่เป็นพยัญชนะเดียวกันหรือพยัญชนะที่มีเสียงสูงต่ำเข่าคู่กันได้ หรือพยัญชนะควบชุดเดียวกันได้ เช่น
กาง สัมผัสอักษรกับ กีด กั้น กอด กุ้ง
คาน สัมผัสอักษรกับ คาบ คัด ข้า เฆี่ยน
ปรุง สัมผัสอักษรกับ ปราม ปรับ เปรียบ เปรย
๒. สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับที่จะต้องมีในบทประพันธ์ต่างๆ ได้แก่
สัมผัสที่ส่งและรับกันระหว่างวรรคระหว่างบทและระหว่างบท และต้องเป็นสัมผัสสระเท่านั้น เช่น

กลอน : จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู

โคลง : ยามจนคนเคียดแค้น ชิงชัง

ยามมั่งมีคนประนั่ง นอบน้อม

๒.สัมผัสใน เป็นสัมผัสไม่บังคับ ได้แก่ คำสัมผัสที่คล้องจองกันอยู่ภายใน
วรรคเดียวกันอาจเป็นสัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรก็ได้ สัมผัสในนั้นจะช่วยให้บทประพันธ์มีความไพเราะ

ตัวอย่าง : สัมผัสใน เป็นสัมผัสสระ เป็นสัมผัสอักษร

ในโลกนี้มีอะไรของไทยแท้ ของไทยแน่นั่นหรือคือภาษา

ทั้งคนมีคนจนแต่ต้นมา ใช้ภาษาไทยทั่วทุกตัวคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น